เมนู

กัปปปัญหาที่ 10


ว่าด้วยธรรมเป็นที่พึ่ง


[434] กัปปมาณพทูลถามปัญหาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระ-
องค์จงตรัสบอกซึ่งธรรมอันเป็นที่พึ่งของชน
ทั้งหลาย ผู้อันชราและมรณะครอบงำแล้ว
ดุจที่พึ่งของชนทั้งหลาย ผู้อยู่ในท่ามกลาง
สาคร เมื่อคลื่นเกิดแล้ว มีภัยใหญ่ฉะนั้น
อนึ่ง ขอพระองค์จงตรัสบอกที่พึ่งแก่ข้า-
พระองค์โดยอุบายที่ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีกเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนกัปปะ
เราจะบอกธรรม อันเป็นที่พึ่งของ
ชนทั้งหลาย ผู้อันชราและมรณะครอบงำ
แล้ว ดุจที่พึ่งของชนทั้งหลายผู้อยู่ในท่าม
กลางสาคร เมื่อคลื่นเกิดแล้ว มีภัยใหญ่
แก่ท่าน ธรรมชาติไม่มีเครื่องกังวล ไม่มี
ความถือมั่น นี้เป็นที่พึ่ง หาใช่อย่างอื่นไม่
เรากล่าวที่พึงอันเป็นที่สิ้นไปแห่งชรา และ
มรณะว่านิพพาน ชนเหล่าใดรู้นิพพานนั้น
แล้ว มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับกิเลสได้

แล้ว ชนเหล่านั้นไม่อยู่ใต้อำนาจของมาร
ไม่เดินไปในทางของมาร.

จบกัปปมาณวกปัญหาที่ 10

อรรถกถากัปปสูตร1ที่ 10


กัปปสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า มชฺเฌ สรสฺมึ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มชฺเฌ สรสฺมึ ท่านอธิบายว่า ในสาครอัน
เป็นท่ามกลางเพราะไม่มีเบื้องต้นที่สุดปรากฏ. บทว่า ติฏฺฐนฺตํ คือผู้ตั้งอยู่.
บทว่า ยถายิทํ นาปรํ สิยา กัปปมาณพทูลว่า ขอพระองค์จงตรัสบอก
ที่พึ่งแก่ข้าพระองค์โดยอุบายที่ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีกเถิด.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงพยากรณ์ความนั้นแก่กัปป-
มาณพนั้น จึงได้ตรัสคาถาสามคาถา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อกิญฺจนํ ไม่มีเครื่องกังวล คือตรงกันข้าม
กับที่มีเครื่องกังวล. บทว่า อนาทานํ ไม่ยึดมั่น คือตรงกันข้ามกับ ความ
ยึดมั่น ท่านอธิบายว่า เข้าไปสงบความกังวลและความยึดมั่น. บทว่า อนาปรํ
หาใช่อย่างอื่นไม่ คือเว้นจากที่พึ่งอันไม่เป็นข้าศึกกับที่พึ่งอื่น. ท่านอธิบายว่า
เป็นที่พึ่งประเสริฐที่สุด. บทว่า น เต มารสฺส ปฏฺฐคู2 ได้แก่ชนเหล่านั้น
ไม่เดินไปในทางของมาร คือไม่เป็นศิษย์คอยบำรุงบำเรอมาร. บทที่เหลือใน
บททั้งปวงชัดเจนดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรม
เป็นยอดคือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถากัปปสูตรที่ 10 แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อปรมัตถโชติกา

1. บาลีเป็นกัปปปัญหา 2. ม. ปทฺธคู.